วัตถุมงคลที่ระลึกในคราวที่สร้างอนุสาวรีย์พ่อจ่าการบุญ พ่อจ่านกร้อง ณ โรงเรียนจ่าการบุญ ของดีที่ชาวจ่าการบุญต้องมี

นับเป็นอีกสิ่งยึดเหนี่ยวหนึ่งของชาวจ่าการบุญที่ให้ความศรัทธานับถือมายาวนานนั่นก็คือพ่อจ่าการบุญ พ่อจ่านกร้อง ซึ่งจากประวัติดั่งเดิมคือเป็นชื่อของถนนจ่าการบุญทำให้มีการค้นคว้าประวัติของท่านทั้งสองทำให้มีทั้งคุณค่าทางประวัติศาสตร์และพลังศรัทธา หลายคนมีประสบการณ์เกี่ยวกับพ่อจ่าการบุญโดยถูกเล่าขานกันแบบปากต่อปาก ที่สำคัญไม่ใช่เพียงคณะครูและศิษย์จ่าการบุญเท่านั้น ยังมีเรื่องราวให้พอได้ยินของบุคคลภายนอกที่มากราบอธิษฐานขอพรในเรื่องของโชคลาภ การค้าขาย และโรคภัย ซึ่งก็สมหวังดั่งใจ

ในช่วงปี 2541 – 2542 ทางโรงเรียนจ่าการบุญนำโดยท่านผู้อำนวยการ คณะกรรมการ และคุณครูวัฒนศักษ์ สันโดษ ได้ร่วมกันสร้างอนุสาวรีย์เพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงพื้นที่แห่งนี้โดยช่างปั้นแบบคือคุณครูสุทีป สามเกษร ได้เดินทางไปหาข้อมูลจากอนุสาวรีย์ ห้องสมุด และงานวิจัยทางประวัติศาสตร์ แม้จะหาข้อมูลมากเพียงใดก็ตามความเป็นศิลปินของท่านทำให้ไม่สามารถสรุปรูปแบบที่ลงตัวได้ ท่านจึงได้จุดธุปกลางแจ้งบอกกล่าวพ่อจ่าทั้งสอง จะด้วยอภินิหาริย์หรือการตกตะกอนทางความคิดท่านก็สามารถปั้นแบบได้อย่างต่อเนื่องจนสำเร็จในเวลาไม่นาน

เมื่อมีการจัดสร้างหุ่นสำเร็จ ทางโรงเรียนได้จัดทำพิธีหล่อรูปหล่อลายองค์ ณ มณฑลพิธีของโรงเรียนโดยนิมนต์เกจิคณาจารย์ผู้คุณ ในครั้งการไปนิมนต์ในเกิดเรื่องราวเหลือเชื่อหลายประการ เช่น คณะทำงานเดินทางไปยังกุฏิของหลวงปู่อ่อน วัดเนินมะเกลือ สุดยอดเกจิของภาคเหนือในยุคนั้นซึ่งท่านไม่ได้รับกิจนิมนต์ไปยังที่ไหนมาร่วมกว่า 5 ปีด้วยเหตุของสังขาร เมื่อทางคณะนิมนต์เดินทางไปถึงบริเวณหน้ากุฏิของท่าน ทางผู้ดูแลได้เดินออกมาต้อนรับและพูดบอกว่า “หลวงปู่รู้แล้ว เดี๋ยวเจอกันวันงาน” ทั้งๆที่ยังไม่ได้คุยหรือแนะนำตัวว่ามาจากจ่าการบุญ ทางคณะจึงกลับมาแบบงงๆ และพูดคุยถึงเรื่องนี้่กันตลอดทาง

หลังจากนั้นได้ทราบภายหลังจากปากของหลวงปู่ว่า ท่านได้สื่อสารทางจิตกับทางหลวงปู่แขก วัดสนุทรประดิษฐ์ ซึ่งเป็นสหธรรมิกกัน นับเป็นบุญที่ได้รับความเมตตาจากเทพเจ้าเมืองสองแควถึงสองรูป นอกจากนี้ยังมี หลวงตาละมัย วัดอรัญญิก และพระอาจารย์ไพรินทร์ ร่วมปรกปลุกเสก 4 ทิศ สร้างความเข้าขลังจึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมผู้คนจึงศรัทธาในรูปหล่อของพ่อจ่าทั้งสอง

เมื่อรูปหล่อสำเร็จแล้ว คุณครูวัฒนศักดิ์ สันโดษ (คุณครูแม้ว) จึงได้ร่วมมือกับลูกศิษย์ของท่านจัดสร้างเหรียญที่ระลึกสร้างอนุสาวรีย์ซึ่งเป็นเหรียญรูปไข่ ความสูงประมาณ 3 ซม. ความกว้างประมาณ 2 ซม. โดยมีทั้งหมด 3 เนื้อคือ ทองแดงกะหลั่งทอง ทองแดงกะหลั่ยเงิน และทองแดงธรรมชาติ ซึ่งบรรจุไว้ในตลับพลาสติกทรงกลมสกรีน พ.ศ. 2542 ท่านได้นำวัตถุมงคลจ่าการบุญทั้หมดไปร่วมพิธีมหาจักดิ์พรรดิ์พุทธาภิเษก 2542 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พศ.2542 ซึ่งเกจิที่ร่วมพิธีจักรพรรดิมีทั้งสิ้น 142 รูป แบ่งกันเข้าปลุกเสกเป็นผลัด ทั้งหมด 4 ผลัด เวียนกันเข้านั่งปรกปลุกเสกณ วิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช อาจกล่าวได้ว่าได้ร่วมอยู่ในกลางมณฑลพิธีเลยทีเดียว พิธีนี้มีรายนามเกจิคณาจารย์ที่ปรากฎในหนังสือและเว็ปต่างๆ เช่น

  1. หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก
  2. หลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย
  3. หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
  4. พ่อท่านฉิ้น วัดเมือง
  5. หลวงพ่อหงส์ วัดเพชรบุรี
  6. ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี
  7. หลวงพ่อคล้อย วัดภูเขาทอง
  8. หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ
  9. หลวงพ่อพรหม วัดบ้านสวน
  10. ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล
  11. หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง
  12. หลวงพ่อรวย วัดตะโก
  13. พ่อท่านทอง วัดสำเภาเชย
  14. หลวงพ่อตี๋ วัดหลวงราชาวาส
  15. หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม
  16. หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ
  17. หลวงพ่อสมควร วัดถือน้ำ
  18. หลวงพ่อเก๋ วัดปากน้ำ
  19. หลวงพ่อลำไย วัดทุ่งลาดหญ้า
  20. หลวงพ่อพูนทรัพย์ วัดอ่างศิลา
  21. หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม
  22. หลวงพ่อแย้ม วัดตะเคียน
  23. หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว
  24. หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก
  25. หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว
  26. หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูน
  27. หลวงพ่อเกษม วัดม่วง(พระเกจิอาจารย์ผู้สร้างพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่จังหวัดอ่างทอง)
  28. หลวงพ่อวิชัย วัดถ้ำผาจม
  29. หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน
  30. หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม
  31. หลวงพ่อธงชัย วัดไตรมิตร
  32. หลวงพ่อรอด วัดสันติกาวาส
  33. หลวงพ่อถวิล วัดช้างให้
  34. หลวงปู่เหรียญ สำนักสงฆ์สวนจิตลดา เป็นต้น

นอกจากนี้คุณครูแม้วยังได้นำไปให้เกจิคณาจารย์ปลุกเสกเดี่ยวและเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกต่างๆหลายวาระ ท่านใดที่ไม่มีเหรียญ 100 ปี โรงเรียนชาย ก็สามารถห้อยเหรียญจ่าการบุญ 2542 ได้แม้นมวลสารอาจยังไม่เข้มขลังเท่าเหรียญ 100 ปี โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม แต่ก็ได้บารมีจากเกจิคณาจารย์ส่งพลังให้เหมือนกัน

ไม่แปลกใจว่าทำไมครูและศิษย์เก่าที่มีเหรียญนี้จึงได้หวงแหนกัน

วรรณะของเหรียญที่ผิวเป็นธรรมชาติ

สำหรับเหรียญเนื้อทองแดงธรรมชาติ หากเก็นอยู่ในตลับเดิมไม่สัมผัสกับอากาศก็จะออกสีของทองแดง (บางเหรียญอาจมีรอยนิ้วมือของผู้นำเหรียญใส่ตลับปรากฎบ้างเล็กน้อย)

เหรียญเนื้อทองแดงธรรมชาติ
เหรียญจ่าการบุญเนื้อทองแดงซึ่งทางเจ้าของได้รับความเมตตาจากท่านพระครูประสาธน์ธรรมคุณ (ไสว ขนฺติพโล) ผู้สืบสานพุทธาคมหลวงปู่แขก เทพเจ้าแห่งเมืองสองแคว วัดสุนทรประดิษฐ์ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก จารยันต์ “นะ คุ้มเมือง” ให้เพิ่มเติม

เรื่องเล่าสำหรับเหรียญองค์ในรูป ทางพระมหาเถระสัมผัสได้ถึงพลังออกมาจากเหรียญ เจ้าของเหรียญได้กล่าวขอความเมตตาให้ท่านลงอักขระเลขยันต์แต่ในตอนแรกท่านจะไม่จารให้โดยพูดเพียวว่า “พอแล้วๆ เขาเสกกันจนคุ้มตัวได้เต็มแล้ว” ทางเจ้าของได้กล่าวขอความเมตตาอยากให้เหรียญนี้ต่างจากเหรียญอื่นเพราะได้รับความเมตตาจากครูบาอาจารย์ของตน ท่านจึงยอมจารให้

จำนวนการตกทอดของเหรียญ

ในการจัดสร้างเหรียญ วัตถุประสงค์หลักเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดของการสร้างอนุสาวรีย์ จึงกล่าวได้ว่าผู้ร่วมบูชาถือเป็นผู้ร่วมสร้างอนุสาวรีย์ให้ผู้คนกราบไหว้บูชาสักการะด้วย หลังจากได้ครบตามจำนวนค่าใช้จ่ายแล้วได้นำแจกจ่ายให้กับคณะครูจ่าการบุญ คณะกรรมการ จบจนสิ้นคุณครูวัฒนศักดิ์ แต่ทางครูศุภเชษฐ์ (ผอ.เชษฐ์) และครูยงยุทธ (ครูต้น) ได้ทยอยมอบให้ครูที่ย้ายและบรรจุเข้ามาใหม่ตามวาระต่างๆจนเกือบหมดลง

ที่ทางผู้เขียนกล่าวว่าเกือบหมดลง เพราะทางครูต้นคิดว่าเหรียญได้หมดลงไปแล้ว จนกระทั้งวันเกิดเหตุอัคคีภัย วันที่ 22 ก.ย. 2565 ช่วงเวลาตีสามของวันถัดไปได้มีผู้คนพบเหรียญและพระนางพญาที่อยุ่ในโอ่งดินเล็กๆจำนวนหนึ่ง จึงได้รายงานไปยังผู้บริหารตามลำดับขั้น

โอ่งดินใบเล็กดังกล่าวไม่ได้ปิดฝา และอยู่บริเวณรูปหล่อลอยองค์ของพ่อจ่าการบุญ ขนาดประมาณ 20 นิ้ว (ใช้สรงน้ำและเข้าพิธีสำคัญต่างๆของโรงเรียน)

หลังจากกองพิสูจน์หลักฐานเข้ามาตรวจสอบที่เกตุเหตุและกั้นพื้นที่ไว้จนกว่าคดีจะเสร็จ ยังไม่มีใครได้เข้าไปตรวจสอบสำรวจพื้นที่เพราะมีเส้นกั้นที่เกิดเหตุห้ามบุกรุก และยังมีความเสี่ยงที่อาคารที่เหลืออาจถล่มลงมา จนกระทั้งผลการพิสูจน์หลักฐานออกมาและสรุปสำนวนเรียบร้อยแล้ว ทางโรงเรียนจึงได้นิมนต์พระอาจารย์สุทศ วัดสระไม้แดง (ปัจจุบันคือ พระครูประภัศร์วรานุกิจ) ได้ทำพิธีสวดถอนตามความเชื่อ ระหว่างการสวดถอนได้เกิดปรากฎการณ์บางอย่าง (จะขอเขียนเล่าในหนังสือที่ระลึกสำหรับผู้บูชาพระกริ่งจ่าการบุญ) ทำให้ผู้ร่วมพิธีในวันนั้นถึงกับขนลุกเลยทีเดียว

ทำพิธีสวดถอนหอศิลป์จ่าการบุญ
พระอาจารย์สื่อจิตพิจารณา
สภาพเถ้า
เศษที่ยังคนหลงเหลือ

เมื่อทำพิธีเสร็จแล้วและได้นำศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ที่ถูกเพลิงไหม้เสียหายนำไปจำเริญที่วัดแล้ว คณะครูที่มาร่วมพิธีต่างก็รู้สึกสลดเสียใจเพราะภายใต้เถ้าถ่านมีเศษของฆ้องวงที่ยังเหลือเพียงครึ่งใบ ตะกั่วที่ใช้ถ่วงระนาดหลอมเหลวจนไหลมากองรวมกันบนพื้น ดาบโบราณตั้งแต่ยุคต้นรัตนโกสินทร์และเครื่องดนตรีที่ทำจากไม้และโลหะไม่หลงเหลือให้เห็นเลย จะมีเพียงดาบไม้ที่ใช้แสดง เครื่องดนตรีที่อยู่ในกล่อง ที่ได้จัดเก็บภายในห้องเก็บชั้น 1 ที่ถูกเพลิงเผาไหม้น้อยที่สุดจึงหลุดรอดออกมาได้

แต่สิ่งที่สร้างความตื่นเต้นคือ การค้นพบเหรียญพ่อจ่าการบุญ ปี 2542 ประมาณ 2 กล่อง อยู่ตรงบริเวณจุดที่เป็นแท่นวางรูปหล่อลอยองค์พ่อจ่าและเศียรครู (พ่อแก่) ภายนอกพลาสติกถูกหลอมเหลวจนจับตัวเป็นก่อน แต่เหรียญบางเหรียญกลับมีความสมบูรณ์ บางเหรียญมีร่องรอยของพลาสติกติดอยู่ และหลายเหรียญพลาสติกหลอมติดกันจนจับตัวเป็นก้อน ทางครูได้ทดลองทำหลายวิถีทางที่แกะออกมาแต่ก็ไม่สามารถทำได้เป็นส่วนใหญ่ จะมีเพียงบางเหรียญที่แกะออกมาได้และมีร่องรอยเปลวไฟพยายามที่จะกลืนกินแต่ไม่สามารถทำอะไรได้ และยิ่งแปลกใจมากกว่านั้นคือตลอดเวลาตั้งแต่เจ้าหน้าดับเพลิงคุ้ยกองไฟ เจ้าหน้าที่ทหารมาคุ้ยและทำช่องระบายน้ำออก และเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานได้มาเปิด งัด คุ้ย ทุกซอกมุมแต่กลับไม่มีใครพบกับเหรียญนี้ มีเพียงครูต้นที่ค้นพบเส้นเลือดพ่อจ่า (ก้านช่อชนวนตอนหล่อ) และพี่เพ็ญที่เป็นผู้ยกกองเหรียญออกมาและสามารถมองเห็นได้ชัดตั้งแต่ไกลว่าเป็นเหรียญ อาจกล่าวได้ว่าพ่อจ่าต้องการให้เก็บไว้สำหรับผู้ที่รักและศรัทธาในตัวพ่ออย่างแท้จริง

เหรียญที่พบ และตะกั่วของเครื่องดนตรีไทยที่ค้นพบ
เหรียญจ่าการบุญ 2542 ที่พบ
เหรียญไม่ไหม้ไฟ

เหรียญพ่อจ่าการบุญที่รอดจากเปลวไฟ

ปาฏิหาริย์เหรียญจ่าการบุญ
ปาฏิหาริย์เหรียญจ่าการบุญ
ปาฏิหาริย์เหรียญจ่าการบุญ
ปาฏิหาริย์เหรียญจ่าการบุญ

เหรียญพ่อจ่าการบุญ ปี พ.ศ. 2542 ที่รอดจากเปลวไฟหลายร้อยหลายพันองศาเซลเซียส (หน่วยดับเพลิงบอกว่าไฟไหม้หอศิลป์จากการประเมินคือไฟไหม้ระดับสูงสุด) เจ้าของเหรียญได้นำไปเหลี่ยมพลาสติกโดยยิงเลเซอร์ 20022022 ไว้ด้านล่างเพื่อบันทึกวันแห่งความเจ็บปวดของชาวจ่าการบุญ สีแดงที่ติดตรงด้านบนคือยางที่หลอมเหลว และสีส้มบนเหรียญเพราะถูกเปลวไฟเผาผลาญ ด้านหลังของเหรียญ (ด้านพ่อจ่า) มีพลาสติกหลอมติดอยู่เจ้าของเหรียญไม่ขูดออก

เหรียญจ่าการบุญ 2542
ด้านซ้ายสุดและตรงกลางคือเหรียญเนื้อทองแดง และเหรียญกะไหล่เงินที่ได้รับแจก ส่วนด้านขวาสุดคือเหรียญเนื้อกะไหล่เงินที่พบในกองเถ้าหอศิลป์

เหรียญทองแดงกะไหล่เงินที่พบในกองเถ้าหอศิลป์ พลาสติกภายนอกเสียรูปจนไม่เหลือเค้าโครงเดิม ส่วนยางสีแดงมีลักษณะเกือบหลอมเหลวทำให้รัดกับตัวเหรียญจนแน่นแต่ผิวของเหรียญกลับไม่เป็นอะไร

ตอนนี้หาไม่ได้แล้ว

มาถึงตรงนี้อาจมีหลายท่านต้องการอยากได้เหรียญนี้ เพราะคนจ่าการบุญบางส่วนอาจยังไม่มีไว้ในครอบครอง ในตอนแรกที่พยายามแกะออกมาเพราะต้องการแจกจ่ายให้กับคณะครูที่ยังไม่มีได้เก็บไว้ตามความประสงค์ของผู้สร้าง แต่ด้วยความสวยและความยากในการแกะพลาสติกทางโรงเรียนจึงได้จัดสินใจนำเหรียญที่พบทั้งเกือบ 200 เหรียญ นำไปหลอมรวมเป็นชนวนมวลสารในการสร้างวัตถุมงคลที่ระลึก 123 ปี จ่าการบุญทั้งหมด และได้มีการขอพลีและอธิษฐานให้ดวงจิตของคณาจารย์ได้สืบทอดมายังวัตถุมงคลรุ่น 123 ปี ในครั้งนี้ ถือเป็นหนึ่งในมวลสารที่มีดีนอกและดีใน หลายท่านได้ทำการจองบูชาจำนวนหลายชุดหลายองค์ทั้งๆที่ยังไม่เห็นของจริงนั่นเพราะได้ทราบข้อมูลของมวลสารนี้แล้ว ซึ่งวัตถุประสงค์ของทางคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ชมรมผู้ปกครอง ชมรมศิษย์เก่าจ่าการบุญ ต้องการนำเงินมาชำระเครื่องดนตรีที่ยังคงค้างและจัดหาเครื่องดนตรีใหม่ให้สมบูรณ์เพิ่มเติม ถือเป็นการสร้างปัญญาบารมีโดยแท้

เหรียญรุ่น 2542 ที่สามารถแกะออกมาได้
เหรียญที่ต้องส่งให้ทางโรงงานแกะและหลอมพร้อมกับชนวนมวลสารชิ้นใหญ่
ซ้ายสุด เส้นเลือดพ่อจ่า ในตะกร้าสีฟ้าคือเหรียญพ่อจ่าที่ค้นพบในกองเถ้าหอศิลป์ ก่อนส่งให้โรงงานแกะออกมาหลอมทำชนวนมวลสาร

สั่งจองวัตถุมงคลที่ระลึก 123 ปี จ่าการบุญ ได้ที่ ห้องธุรการอาคารรวมใจ โรงเรียนจ่าการบุญ ในวันและเวลาราชการ (กรุณาชำระการสั่งจองด้วยเงินสด)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 055 244 490

VDO เหรียญพิธีจักรพรรดิ์ 2542 จ่าการบุญ

เหรียญแจก VIP งานวิ่ง 123 JB Run

เหรียญที่ระลึกแจกผู้สั่งจองบัตร VIP ที่แจกพร้อมคาถาบูชา

เหรียญพ่อจ่าการบุญ ปี 2542